องค์กร

ประวัติศูนย์นวัตกรรมระบบราง (RSIC)

ศูนย์นวัตกรรมระบบราง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร ธัญบุรี) ได้เริ่มงานด้านระบบขนส่งทางราง มาเกือบทศวรรษคือตั้งแต่ปี 2550 โดยมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของงานวิจัย งานพัฒนาบุคลากร งานด้านการพัฒนาหลักสูตร งานบริการวิชาการและงานสร้างเครือข่ายจุดเริ่มต้นมาจากการรวมกลุ่มนักวิจัยเพื่อของบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) ซึ่งก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนในปี พ.ศ.2551 จำนวน 985,000 บาท (เก้าแสนแปดหมื่นห้าพันบาท) และได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากภายนอกมายังต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,643,000 บาท (สี่ล้านหกแสนสี่หมื่นสามพันบาท)ต่อมาทางกลุ่มวิจัยจึงได้จัดให้มี ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมการออกแบบและวิเคราะห์ (Innovative System Design and Analysis Laboratory: IDEAS) ขึ้นโดยเปิดตัววันที่ 16 มกราคม 2552

 

8986

ในส่วนของงานพัฒนาบุคลากรนั้น ทางกลุ่มนักวิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงได้ส่งบุคลากรไปเข้าร่วมหลักสูตรวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง (วศร) ซึ่งจัดโดยสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ที่มีระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่อง 4 เดือน เป็นจำนวน 4 ท่าน โดยมีรุ่นแรกในปีพ.ศ. 2554 จำนวน 2 ท่าน ปีพ.ศ. 2557 และ พ.ศ.2558 จำนวนปีละ 1 ท่าน นอกจากนี้ยังได้มีการจัดส่งบุคลากรไปฝึกอบรมระยะสั้น ร่วมกับมหาวิทยาลัย Berijing Jiaotng University และได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจการร่วมมือพัฒนาหลักสูตรในส่วนของงานบริการวิชาการนั้น ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์  มทร ธัญบุรี ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาวิศวกรรมระบบราง” ขึ้นโดยมีคณะทำงานจำนวน 16 ท่าน มีหน้าที่ในการผลักดันงานบริการวิชาการ ซึ่งปัจจุบันได้มีผลงานจากการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน) จำนวน 800,000 (แปดแสนบาทถ้วน) ในการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน 2 รายวิชาคือ (1) รายวิชาวิศวกรรมระบบรางเบื้องต้น และ (2) รายวิชาซ่อมบำรุงระบบราง  นอกจากนี้ทางยังได้สนับสนุนงบประมาณอีก 1,680,000 บาทในการจัดโครงการฝึกอบรม โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง 4 ภูมิภาค สำหรับการบริการวิชาอื่นๆนั้นทางกลุ่มยังได้มีส่วนร่วมกับสมาคมวิชาการและเทคนิคไทยฝรั่งเศส ในการเตรียมการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมในหัวข้อเรื่อง “วิศวกรรมระบบรางกับการพัฒนาเมือง” ด้วยงบประมาณจำนวน 300,000 บาท โดยมีเป้าหมายเพื่อใช้สำหรับฝึกอบรมวิศวกรรุ่นใหม่ในปี 2555 ทาง สวทน ได้เชิญ มทร ธัญบุรี เข้าร่วมเครือข่ายพัฒนากำลังคน ด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555 โดยมีจำนวนสถาบันเข้าร่วมทั้งสิ้น 14 หน่วยงาน (ปัจจุบัน 19 หน่วยงาน) และที่สำคัญไปกว่านั้น ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการวิจัย และภาคการศึกษาได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น “สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย” ในปีพ.ศ. 2558 โดยมีสมาชิกสามัญจำนวน 124 ท่าน ซึ่งบุคลากรของ มทร ธัญบุรี ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯเป็นคนแรกจากทำงานอย่างต่อเนื่องจึงทำให้ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร. ธัญบุรี เล็งเห็นถึงความสำคัญในการเปิดหลักสูตรด้านวิศวกรรมระบบราง (Railway System Engineering Program) ดังนั้นในปีการศึกษา 2559 จึงได้เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรเครื่องกลแขนงวิศวกรรมระบบรางขึ้นเป็นครั้งแรก  นอกจากนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ได้เล็งเห็นความสำคัญและได้ให้การสนับสนุนทุนพัฒนาบุคลากรด้านระบบรางจำนวน 10 ทุน ในปีพ.ศ. 2559 ซึ่งทางคณะวิศวกรรมศาสตร์มีแผนจะขอทุนต่อเนื่องในปีพ.ศ. 2559 และปีพ.ศ. 2560 โดยจากเครือข่ายดังกล่าวทำให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ของมทร ธัญบุรี ได้ตะหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมระบบราง (Railway System Innovation Center: RSIC) ขึ้นโดยมีเป้าหมายในการเป็น “ผู้นำด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการด้านระบบราง” และพันธกิจคือ

  1. สร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการด้านการผลิต ติดตั้ง ทดสอบและซ่อมบำรุง
  2. ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมด้านวัสดุและอุปกรณ์