กำหนดการฝึกอบรม

โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง 4 ภูมิภาค

หลักการและเหตุผล

จากการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาเมืองของประเทศไทยทำให้ระบบการขนส่งทางรางมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน รัฐบาลจึงเร่งรัดให้มีการพัฒนาระบบขนส่งทางรางทั้งที่เป็นการขนส่งภายในเมืองด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และการพัฒนาระบบรถไฟทางคู่เพื่อเป็นการเชื่อมการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างหัวเมืองในภูมิภาค โดยในช่วง 8 ปีข้างหน้า พ.ศ.2558-2565 รัฐบาลได้จัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทยโดยเน้นให้มีการลงทุนในระบบขนส่งทางราง คิดเป็นจำนวนเงินถึง 1,070,000 ล้านบาท แบ่งเป็นรถไฟทางคู่ 495,000 ล้านบาท และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน 575,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 10 เส้นทาง ระยะทางรวม 464 กิโลเมตร และการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ ขนาดกว้าง 1 เมตร ระยะทางรวม 3,237 กิโลเมตร และการก่อสร้างเส้นทางรถไฟทางคู่ ขนาดกว้าง 1.435 เมตร ระยะทางรวม 837 กิโลเมตร จากแผนการลงทุนและการก่อสร้างดังกล่าว สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูงภายใต้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ จึงได้ทำการศึกษาความต้องการกำลังคนระดับปฏิบัติการด้านระบบขนส่งทางราง ซึ่งพบว่า มีความต้องการบุคลากร ดังนี้ 1.วิศวกร จำนวน 4,563 คน 2.ช่างเทคนิค จำนวน 9,125 คน 3.บุคลาสาขาอื่นๆ จำนวน 11,199 คน จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่าประเทศไทยมีความต้องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรด้านระบบขนส่งทางรางเป็นจำนวนมาก แต่กระนั้นประเทศยังจำเป็นที่จะต้องนำเข้าเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ การออกแบบ การก่อสร้าง การบริหารการเดินรถและการบำรุงรักษาระบบ นอกจากนี้เมื่อมองลึกลงไปในเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางจะพบว่าประกอบไปด้วย 4 ด้านหลัก คือ ด้านหัวรถจักรและขบวนรถไฟ (Rolling Stock)  ด้านงานโยธาและทางรถไฟ (Civil Track Work) ด้านระบบควบคุมการเดินรถ (Train Control) และด้านการบริหารจัดการเดินรถ (Train Operation and Management) ทั้งนี้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของฟังก์ชันและองค์ประกอบแต่ละด้านถือเป็นหัวใจสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้งในส่วนอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเลคทรอนิกส์ อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วน แต่ปัญหาสำคัญของประเทศไทยคือ บุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางยังมีอยู่ในวงจำกัด และระบบขนส่งทางรางเองโดยเฉพาะระบบรถไฟฟ้าก็มีความซับซ้อน ดั้งนั้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการประกอบรถไฟฟ้าหรือผลิตชิ้นส่วนรถไฟหรือรถไฟฟ้าภายในประเทศในระดับที่เหมาะสมถือเป็นยุทธศาสตร์สำคัญอย่างยิ่งจากปัญหาและความสำคัญดังกล่าวข้างต้น สวทน. โดยสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นสูง (Thailand Advanced Institute of Science and Technology – THAIST) ซึ่งมีภารกิจที่สำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างและการพัฒนาบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาโครงการหรือหลักสูตรที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาในภาคการผลิตและบริการ จึงดำเนินการพัฒนาบุคลากรด้านระบบขนส่งทางรางผ่านการพัฒนาหลักสูตรและนำร่องสอนในสถาบันการศึกษา และการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภายในและต่างประเทศ ทั้งนี้ เพื่อขยายผลการดำเนินงาน จึงเห็นควรสนับสนุนการดำเนินโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง 4 ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้) เพื่อเป็นการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ด้านวิศวกรรมระบบรางสนับสนุนต่อการดำเนินงานด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศในอนาคต

วัตถุประสงค์

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภาครัฐและเอกชนให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านระบบการขนส่งทางราง
  • เพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องทั้ง 4 ภูมิภาค (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้)
  • เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาในประเทศและภาคอุตสาหกรรมการผลิตด้านระบบราง

กลุ่มเป้าหมาย

  • บุคลากรสถาบันการศึกษาและบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งทางราง
  • หน่วยงานภาคเอกชนและผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบการขนส่งทางราง

กำหนดการฝึกอบรม

 

รอบที่ 1

ครั้งที่
วันเวลา
หัวข้อ
สถานที
1 12-13 พ.ค 59 ความรู้พื้นฐานด้านระบบขนส่งทางราง

1) วางแผนระบบขนส่งมวลชนอย่างไรให้ยั่งยืน

2) การพัฒนาเมืองด้วยรถรางไฟฟ้า กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น

3) เทคโนโลยีรถไฟระหว่างเมือง

4) ข้อเสนอยุทธศาสตร์ขนส่งทางราง: สิ่งที่ต้องคิดมากกว่าการขนส่ง

5) อดีต ปัจจุบันและอนาคตขนส่งทางรางไทย

มทร. ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
2 16-17 พ.ค 59 มทร. ล้านนา จ.เชียงใหม่
3 18-19 พ.ค 59 มทร. อีสาน จ.นครราชสีมา
4 25-26 พ.ค 59 มทร. ศรีวิชัย จ.สงขลา
รอบที่ 2 5 11-12 ก.ค. 59 หัวรถจักรและขบวนรถไฟ โรงแรมจัสมิน ซิตี้ กรุงเทพฯ
6 13-14 ก.ค. 59 งานโยธาและทางรถไฟ โรงแรมจัสมิน ซิตี้ กรุงเทพฯ
7 25-26 ก.ค. 59 งานอาณัติสัญญาณและการควบคุม โรงแรมจัสมิน ซิตี้ กรุงเทพฯ
8 27-28 ก.ค. 59 การบริหารจัดการเดินรถ โรงแรมจัสมิน ซิตี้ กรุงเทพฯ

วิทยากร

ดร.เยี่ยมชาย  ฉัตรแก้ว อดีต “รองผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)”

คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ข่อนแก่นพัฒนาเมือง (เคทีที) จำกัด

ดร. อรรถพล เก่าประเสริฐ กองทางถาวร ฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟแห่งประเทศไทย

ผศ.ดร.ประมวล สุธีจารุวัฒน  คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.เทอดเกียรติ ลิมปิทีปราการ  คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และอดีตนายกสมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย

หมายเหตุ รายชื่อวิทยากรอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

 

ดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมได้ที่

RSIC3052016-1 (426.3 KiB, 820 downloads)