โครงสร้างองค์กร

งานพัฒนาบุคลากร

ทางกลุ่มนักวิจัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงได้ส่งบุคลากรไปเข้าร่วมหลักสูตรวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง (วศร) ซึ่งจัดโดยสำนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ที่มีระยะเวลาฝึกอบรมต่อเนื่อง 4 เดือน เป็นจำนวน 4 ท่าน โดยมีรุ่นแรกในปีพ.ศ. 2554 จำนวน 2 ท่าน ปี พ.ศ. 2557 และ พ.ศ.2558 จำนวนปีละ 1 ท่าน นอกจากนี้ยังได้มีการจัดส่งบุคลากรไปฝึกอบรมระยะสั้น ร่วมกับมหาวิทยาลัย Berijing Jiaotong University และได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจการร่วมมือพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง 4 ภูมิภาค ของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อของบรายจ่ายประจำปี 2560 จำนวน 9,840,000 บาท (เก้าล้านแปดแสนสี่หมื่นบาทถ้วน) และโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางราง 4 ภูมิภาค ของ สวทน. งบประมาณ 1,540,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนสี่หมื่นบาทถ้วน)

 

 บุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร  “วิศวกรรมระบบขนส่งทางราง (วศร)” จัดโดย สวทช

terd1 ดร.เทอดเกียรติ ลิมปิทีปราการ การศึกษา : Ph.D. Mechanical Engineering Florida Atlantic University, USA. ตำแหน่งงาน : อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
aj_sirichai ok1 ผศ.ศิริชัย แดงเอม การศึกษา : วศ.ม. วิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตำแหน่งงาน : อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ดร.พุทธพล ทองอินทร์ดำ การศึกษา : Dr.Eng. (Transportation Engineering) Gottfried Wilhelm Leibniz University of Hannover, Germany ตำแหน่งงาน : หัวหน้าฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดร.พุทธพล ทองอินทร์ดำ การศึกษา : Dr.Eng. (Transportation Engineering) Gottfried Wilhelm Leibniz University of Hannover, Germany ตำแหน่งงาน : หัวหน้าฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
plerdsayon ดร.พฤศยน นินทนาวงศา การศึกษา : Ph.D. Computer Engineering Northeastern University, Boston, Massachusetts, USA ตำแหน่งงาน : รองหัวหน้าสำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

 

 

การสร้างบุคลากรโดยได้ขอการสนับสนุนทุนการศึกษาจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ในการพัฒนาบุคลากรด้านระบบขนส่งทางราง จำนวน 10 ทุน ในปี พ.ศ. 2559 ซึ่งทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีแผนจะขอทุนต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2559 และปี พ.ศ. 2560

ลำดับ ภาควิชา ชื่อทุน
1 วิศวกรรมเครื่องกล Railway Vehicle Dynamics
2 วิศวกรรมเครื่องกล Railway Operation and Control
3 วิศวกรรมไฟฟ้า Railway Traction System Engineering
4 วิศวกรรมไฟฟ้า Railway Electrification
5 วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม Railway Signaling and Control
6 วิศวกรรมโยธา Railway Infrastructure Engineering
7 วิศวกรรมโยธา Railway Planning and Construction
8 วิศวกรรมอุตสาหการ Railway operation and planning  engineering
9 วิศวกรรมอุตสาหการ Railway System Engineering
10 วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ Railway Information System and Monitoring

 

 งานพัฒนาหลักสูตร

โดยปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้จัดทำหลักสูตรวิศวกรรมระบบราง (Railway System Engineering) ปี 2558 ซึ่งเป็นวิชาเอกในสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล โดยหลักสูตรดังกล่าวนักศึกษาจำเป็นต้องเรียนรายวิชาระบบขนส่งทางราง จำนวน 17 หน่วยกิต และการเปิดหลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกล วิชาเอกวิศวกรรมระบบราง (Railway System Engineering) ตามนโยบายมหาวิทยาลัยฯ ปี 2559

 

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล วิชาเอกวิศวกรรมระบบราง จำนวน 17 หน่วยกิต

15

งานบริการวิชาการ

ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการพัฒนาวิศวกรรมระบบราง” ขึ้นโดยมีคณะทำงานจำนวน 16 ท่าน มีหน้าที่ในการผลักดันงานบริการวิชาการ ซึ่งปัจจุบันได้มีผลงานจากการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ  จำนวน 800,000 บาท (แปดแสนบาทถ้วน) ในการพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนการสอน 2 รายวิชาคือ (1) รายวิชาวิศวกรรมระบบรางเบื้องต้น และ (2) รายวิชาซ่อมบำรุงระบบราง นอกจากนี้ทางกลุ่มยังได้มีส่วนร่วมกับสมาคมวิชาการและเทคนิคไทยฝรั่งเศส ในการเตรียมการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมให้กับสภาวิศวกร ในหัวข้อเรื่อง “การศึกษาวิศวกรรมระบบรางกับการพัฒนาเมือง” ด้วยงบประมาณจำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)  เพื่อใช้สำหรับฝึกอบรมวิศวกรรุ่นใหม่

45

 

งานสร้างเครือข่าย จากการให้ความสำคัญและมีทำงานด้านระบบขนส่งทางราง อย่างต่อเนื่องทำให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ได้เชิญมหาวิทยาลัยฯ เข้าร่วมเครือข่ายพัฒนากำลังคน ด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2555 โดยมีจำนวนสถาบันเข้าร่วมทั้งสิ้น 16 หน่วยงาน และที่สำคัญไปกว่านั้น ภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการวิจัย และภาคการศึกษาได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็น “สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย” ในปี พ.ศ.2558 โดยมีสมาชิกสามัญจำนวน 120 ท่าน ซึ่งบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ ได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนแรก โดยจากเครือข่ายดังกล่าวทำให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยฯ ได้ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (COE) ด้านระบบรางขึ้น โดยริเริ่มจากการจัดตั้งหน่วยวิจัยระบบราง (Railway System Research Unit : RSRC) และพัฒนามาเป็นศูนย์นวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคม (CIIT) ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยฯ  และการจัดตั้งกลุ่มวิจัยระบบราง (Railway Research Unit: R2U) สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยฯ

 

รูปความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ผ่านหุ้นส่วนสำคัญ สมาคมวิศวกรรมระบบขนส่งทางรางไทย

77

1748